เมนู

แคลน ด้วยเหตุนั้น รถนั้นจึงชื่อว่ามีเครื่องผูก. แต่รถนี้ชื่อว่าไม่มีเครื่อง
ผูก เพราะเครื่องผูกคือสังโยชน์ทั้งปวง หมดสิ้นไปโดยไม่เหลือ. ซึ่งรถ
อันไม่มีเครื่องผูกนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงได้รับโสมนัส ด้วยคุณของ
พระเถระ จึงตรัสเรียกพระองค์ด้วยพระดำรัสว่า เชิญดู.
ดังนั้น พระศาสดาทรงแสดงท่านลกุณฐกภัททิยะ ให้เป็นผู้มีจักร
ด้วยดี โดยกอรหัตผลขึ้นเป็นประธาน ให้เป็นผู้มีสิ่งกำบังอันข้ามพ้นด้วยดี
ด้วยวิมุตติอันสัมปยุตด้วยอรหัตผล ให้เป็นผู้มีกำบังด้วยดี ด้วยสติอันตั้งมั่น
ด้วยดี ให้เป็นผู้ไม่กำเริบ เพราะกิเลสเครื่องกำเริบไม่มี ให้เป็นผู้ไม่มี
กิเลสเครื่องไล้ทา เพราะเครื่องไล้ทาคือตัณหาไม่มี ให้เป็นผู้ไม่มีกิเลส
เครื่องผูกพัน เพราะไม่มีสังโยชน์เป็นต้น ให้เป็นดุจรถเทียมด้วยม้าอาชา-
ไนย อันประกอบด้วยดีแล้ว อันมีเครื่องปรุงดีแล้ว.
จบอรรถกถาลกุณฐกภัททิยสูตรที่ 5

6. ตัณหักขยสูตร



ว่าด้วยท่านที่สิ้นแล้วจากเครื่องผูก



[152] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่าน
พระอัญญาโกณฑัญญะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง พิจารณาซึ่งความสิ้นตัณหา
อยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นท่านพระ-
อัญญาโกณฑัญญะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง พิจารณาเห็นซึ่งความหลุดพ้น
เพราะความสิ้นตัณหาอยู่ในที่ไม่ไกล.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงได้
ทรงอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
พระอริยบุคคลใดไม่มีอวิชชาอันเป็นมูลราก ไม่มี
แผ่นดิน คืออาสวะ นิวรณ์ และอโยนิโสมนสิการ
ไม่มีเถาวัลย์ คือมานะและอติมานะเป็นต้น ใบ คือ
ความมัวเมา ประมาท มายา และสาเถยยะเป็นต้น
จะมีแต่ที่ไหน ใครเล่าจะควรนินทาพระอริยบุคคลนั้น
ผู้เป็นนักปราชญ์ ผู้พ้นแล้วจากเครื่องผูก แม้เทวดา
ก็ชม ถึงพรหมก็ย่อมสรรเสริญพระอริยบุคคลนั้น.

จบตัณหักขยสูตรที่ 6

อรรถกถาตัณหักขยสูตร



ตัณหักขยสูตรที่ 6

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โกณฺฑญฺโญ ในบทว่า อญฺญาโกณฺฑญฺโญ นี้ เป็นชื่อของ
ท่านที่มาโดยโคตร. ก็ในบรรดาสาวกทั้งหลาย พระเถระปรากฏในพระ-
ศาสนาว่า อัญญาโกณฑัญญะนั่นแล โดยคำอุทานที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ไว้ว่า อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ เพราะตรัสรู้อริยสัจ 4 ก่อนพระ-
สาวกทั้งหมด.
บทว่า ตณฺหาสงฺขยวิมุตฺตึ ชื่อว่า ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา
เพราะเป็นที่สิ้นตัณหา คือเป็นที่ละตัณหา ได้แก่ พระนิพพาน ความ
หลุดพ้นในเพราะความสิ้นไปแห่งตัณหานั้น. อีกอย่างหนึ่ง อริยมรรค